เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่น SUM

  1. มี Short cut เมนูมาให้สามารถคลิกเลือกเพื่อ Sum ข้อมูลได้ ถ้าจะเลือกอย่างอื่นต้องคลิก
    Sum
    ภาพ 1 เมนู AutoSum

    Dropdown เพื่อเลือกอีกครั้ง

  2. เมื่อกด Alt+= ก็จะขึ้นฟังก์ชั่น Sum มาให้เลย
  3. ถ้าเราเลือกเซลล์ว่างใต้กลุ่มข้อมูลที่เป็นตัวเลขแล้วคลิกเครื่องหมาย Sum หรือทำตามข้อ 2 จะเป็นการ Sum ตัวเลขด้านบนมาให้
  4. ถ้าเราเลือกเซลล์ว่างด้านขวากลุ่มข้อมูลที่เป็นตัวเลขแล้วแล้วคลิกเครื่องหมาย Sum หรือทำตามข้อ 2 จะเป็นการ Sum ตัวเลขด้านซ้ายมาให้
  5. ถ้าคลุมกล่มข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลขโปรแกรมจะ Sum ค่าทั้งหมดมาแสดงให้ที่บรรทัด Status bar (ด้านขวาล่างของจอ) ซึ่งเป็นค่าเริ่มต้น ตรงนี้สามารถเลือกเป็น Count, Average, Min, Max, Count Nums
  6. ถ้าเราคลุมกลุ่มตัวเลขโดยคลุมให้เลยไปทางด้านขวาและด้านล่างจากนั้นกดเครื่องหมาย Sum หรือทำตามข้อ 2 โปรแกรมจะทำการ Sum ข้อมูลมาให้ โดยแสดงผลในเซลล์ด้านล่างและเซลล์ด้านขวาแถวและบรรทัดสุดท้ายที่คลุม
  7. ฟังก์ชั่น Sum สามารถใช้ร่วมกับ Sumif หรือ Countif กรณีต้องการรวมหรือนับแบบหลายเงือนไขได้ เช่น
    =Sum(Sumif(A1:A100,{"<0",">0"}))
    โดยไม่ต้องกดแป้น Ctrl+Shift+Enterความหมายสูตรคือให้รวมว่า A1:A100 มีค่าเท่าไร สูตรนี้พิเศษตรงที่สามารถรวมได้แม้ช่วงข้อมูล A1:A100 จะมีค่าผิดพลาดปรากฏอยู่ด้วย เข่น #N/A, DIV/0!
  8. ฟังก์ชั่น Sum สามารถใช้ในสูตร Array เพื่อนับข้อมูลที่เข้าเงื่อนไขได้ เช่น
    =Sum(If(A1:A100="Yes",If(B1:B100="OK",1)))
    กดแป้น Ctrl+Shift+Enter เนื่องจากเป็นสูตร Arrayความหมายสูตรคือ ถ้าเซลล์ใดในช่วง A1:A100 มีค่าเท่ากับ Yes และเซลล์ใดในช่วง B1:B100 มีค่าเท่ากับ OK ให้นับเป็น 1 นั่นหมายความว่าต้องอยู่ในบรรทัดเดียวกันด้วย เช่น A10 มีค่าเป็น Yes และ B10 มีค่าเป็น OK ถึงจะนับเป็น 1 ถ้าไม่เช่นนั้นก็มีค่าเป็น False คือไม่เข้าเงื่อนไข จากนั้นรวมค่าที่เข้าเงื่อนไขทั้งหมด
  9. ฟังก์ชั่น Sum สามารถใช้ในสูตร Array เพื่อ Sum ข้อมูลที่เข้าเงื่อนไขได้ เช่น
    =Sum(If(A1:A100="Yes",If(B1:B100="OK",C1:C100)))
    กดแป้น Ctrl+Shift+Enter เนื่องจากเป็นสูตร Arrayความหมายสูตรคือ ถ้าเซลล์ใดในช่วง A1:A100 มีค่าเท่ากับ Yes และเซลล์ใดในช่วง B1:B100 มีค่าเท่ากับ OK ให้นำข้อมูลในคอลัมน์ C ที่อยู่ในบรรทัดเดียวกันนั้นมาแสดง นั่นหมายความว่าต้องอยู่ในบรรทัดเดียวกันด้วย เช่น A10 มีค่าเป็น Yes และ B10 มีค่าเป็น OK ถึงจะนำค่า C10 มาแสดง ถ้าไม่เช่นนั้นก็มีค่าเป็น False คือไม่เข้าเงื่อนไข จากนั้นทำการรวมข้อมูลที่เข้าเงื่อนไขทั้งหมด
  10. ฟังก์ชั่น Sum สามารถมีได้ 255 ส่วนประกอบ (Excel 2003 ลงไปมีแค่ 30 ส่วนประกอบ) ซึ่งแต่ละส่วนประกอบเป็นเซลล์เดี่ยวก็ได้ เป็นช่วงเซลล์ก็ได้ เช่น
    =Sum(A1:A5,2,B10,Max(C1:C200))
  11. ฟังก์ชั่น Sum สามารถแปลงค่าตัวเลขที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูดให้เป็นตัวเลขได้ เช่น
    =Sum("10",15)
    ผลรวมจะได้เท่ากับ 25
  12. ฟังก์ชั่น Sum สามารถรวมค่าตรรกะได้ ได้แก่ True จะให้ผลเป็น 1 และ False จะให้ผลเป็น 0 เช่น
    =Sum(True,False,4,A1>3)
    ผลลัพธ์จะได้ 6 ถ้า A1 มากกว่า 3 หรือ ผลลัพธ์จะได้ 5 ถ้า A1 ไม่มากกว่า 3
  13. ฟังก์ชั่น Sum สามารถใช้แบบ 3 มิติได้ คือสามารถรวม Sheet หลาย ๆ Sheet ได้ เช่น
    =Sum(Sheet1:Sheet5!A1:A10)

    ความหมายคือเป็นการรวมค่าในช่วงเซลล์ A1:A10 ของ Sheet1 ถึง Sheet 5

สรุป

ฟังก์ชั่น Sum สามารถประยุกต์ได้หลายรูปแบบหลายสถานการณ์แล้วแต่เงื่อนไขของการทำงาน ซึ่งที่ยกมาข้างต้นคิดว่าจะทำให้รู้จักฟังก์ชั่น Sum เพิ่มขึ้น นอกจากนี้สามารถประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ตามต้องการครับ

Revised: January 26, 2017 at 22:07

2 thoughts on “เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่น SUM”

Leave a Comment

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Scroll to Top