:D snasui.com ยินดีต้อนรับ :D
ยินดีต้อนรับสู่กระดานถามตอบ Excel and VBA และอื่น ๆ ที่เป็นมิตรกับทุกท่าน มีไฟล์แนบมหาศาล ช่วยให้ท่านค้นหาและติดตามศึกษาได้โดยง่าย :thup: สมาชิกท่านใดที่ยังไม่ได้ระบุ Version ของ Excel ที่ใช้งานจริง สามารถทำตาม Link นี้เพื่อจะได้รับคำตอบที่ตรงกับ Version ของท่านครับ :arrow: ระบุ Version ของ Excel
:!: โปรดทราบ :!:
  1. กรุณาอ่านกฎการใช้บอร์ด (Forum rules) ในตำแหน่งด้านบนของแต่ละบอร์ด
  2. การสมัครสมาชิก การ Login การกู้คืนรหัสผ่าน
    1. สมัครสมาชิกดูขั้นตอนได้ที่ :arrow: สมัครสมาชิก
    2. Login เข้าระบบโดยคลิกปุ่ม Login ตรงมุมขวาบนของหน้านี้ :roll:
    3. การ Login ผ่าน Facebook ดูวิธีที่ :arrow: Login ผ่าน Facebook
    4. ลืมรหัสผ่านสามารถรับรหัสใหม่ได้ที่ :arrow: Reset รหัสผ่าน
  3. มีปัญหาการใช้งาน แจ้งผู้ดูแลระบบได้ที่ :arrow: ติดต่อผู้ดูแลระบบ
  4. กำหนดการตั้งค่าส่วนตัว เช่นตั้งค่าภาษาเป็นไทยหรืออังกฤษดูได้ที่ :arrow: ตั้งค่าส่วนตัว
  5. การตั้งและตอบกระทู้ดูได้ที่ :arrow: วิธีการตั้งและตอบกระทู้
  6. การจัดรูปแบบตัวอักษรด้วย bbcode ในช่องแสดงความคิดเห็นดูได้ที่ :arrow: จัดรูปแบบตัวอักษร
  7. กำหนดขนาดตัวอักษรใน Browser ดูได้ที่ :arrow: กำหนดขนาดตัวอักษรใน Browser

คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

ฟอรัมถาม-ตอบปัญหาการใช้งาน MS Excel and VBA
Forum rules
  1. ไม่อนุญาตให้ใช้ภาษาแชทในการถามและตอบปัญหา ไม่ใช้คำว่า "คับ" หรือ "อ่ะครับ" แทนคำว่า "ครับ" ไม่ใช้คำว่า "เด๋ว" แทนคำว่า "เดี๋ยว" เป็นต้น เนื่องจากเมื่อแปลเป็นภาษาต่างประเทศแล้วจะให้ความหมายผิดไปจากที่ควรจะเป็น
  2. ห้ามถามโดยระบุชื่อผู้ตอบและต้องตั้งชื่อกระทู้ให้สื่อถึงปัญหาที่จะถาม ไม่ตั้งชื่อว่า ช่วยด้วยครับ, มีปัญหามาปรึกษาครับ เป็นต้น
  3. กรุณาอธิบายปัญหาและระบุคำตอบที่ต้องการมาในกระทู้ด้วยเสมอถึงแม้จะอธิบายไว้ในไฟล์แนบแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เพื่อนสมาชิกในการค้นหาข้อมูล
  4. กรุณาแนบไฟล์ตัวอย่างพร้อมแสดงคำตอบที่ถูกต้องมาในไฟล์ด้วยเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและสะดวกต่อการตอบคำถาม (ขนาดไฟล์ไม่เกิน 500Kb ขนาดภาพไม่เกิน 800*600 Pixel) ไม่แนบเป็น Link มาจากแหล่งอื่นที่อาจจะถูกลบทิ้งไปโดยต้นทางในภายหลัง นอกจากนี้ไม่ควรแนบไฟล์ที่มีข้อมูลสำคัญอันก่อให้เกิดความเสียหายกับตนเองและผู้อื่น
  5. กรณีเป็นคำถามเกี่ยวกับ Programming เช่น VBA, VB.Net, C#, SQL ฯลฯ ต้องลองเขียนมาเองก่อนเสมอ ถามเฉพาะที่ติดปัญหา ระบุ Module, Procedure ที่ติดปัญหาให้ชัดเจน กรุณาโพสต์ Code ให้แสดงเป็น Code คือเปิดด้วย [code] และปิดด้วย [/code] ตัวอย่างเช่น [code]dim r as range[/code] เพื่อให้แตกต่างจากข้อความทั่วไป สะดวกในการอ่านและทดสอบ (คลิกเพื่อดูตัวอย่าง)
  6. กรุณาแจ้งผลการใช้งานเมื่อได้รับคำตอบว่าตรงกับความต้องการหรือไม่
deityz1231
Member
Member
Posts: 2
Joined: Wed Dec 25, 2024 2:49 pm
Excel Ver: 365

คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#1

Post by deityz1231 »

สวัสดีครับอาจารย์ ขอความช่วยเหลือตามหัวข้อกระทู้ดังนี้ครับ

เวลาทำงานของบริษัทแห่งหนึ่ง กะเช้าเริ่มงานเวลา 8:00 น. ถึงเวลา 17:00 น.
กะดึกเริ่มงานเวลา 20:00 น. ถึงเวลา 05:00 น. โดยกะเช้าและกะดึก จะมีวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์
ถ้างานไม่ทันหรือเกินกำลังการผลิต ถึงจะเปิด OT (แต่เวลาจะทับซ้อนกันเล็กน้อย)

ซึ่งโจทย์ก็คือต้องการนับเวลาที่ใช้ไปโดยนับจากจุดเริ่มต้น มีเงื่อนไขการนับเวลาดังนี้
1. ไม่นับเวลาพักและวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์
2. ชิ้นงานบางตัว จะมีการต่อ Process เช่น ทำงานที่เครื่องจักร 1 เสร็จ ถึงจะให้เวลาไปรันต่อที่เครื่องจักร 2 (จุดสังเกตุ คือ ชื่อ dwg. และ ตรง Remark จะตรงกันทั้ง 2 ช่อง)
3. สามารถสลับการคำนวนการปิดกะได้ เช่นกำลังการผลิตน้อย จากเปิดกะเช้าและดึก ให้เหลือเปิดแค่กะเช้า กรณีเกินกำลังการผลิตให้เปิด OT
4. ถ้างานไม่ทันหรือเกินกำลังการผลิต ถึงจะให้เปิด OT (แต่เวลาจะทับซ้อนกันเล็กน้อย)

ตัวอย่าง
1. พาร์ท A มีเวลาทำงาน 80 นาที ที่เครื่องจักร 1 เริ่มทำงานวันที่ 4/1/2025 เวลา 04.00 งานจริงจะเสร็จวันที่ 6/1/2025 เวลา 08.20
2. พาร์ท B มีเวลาทำงาน 60 นาที ที่เครื่องจักร 1 เริ่มทำงานวันที่ 4/1/2025 เวลา 12.40 งานจริงจะเสร็จวันที่ 4/1/2025 เวลา 13.40 และส่งไปที่เครื่องจักร 2 (หัวข้อ 2.1)
2.1 พาร์ท B มีเวลาทำงาน 30 นาที ที่เครื่องจักร 2 เริ่มทำงานวันที่ 4/1/2025 เวลา 13.40 งานจริงจะเสร็จวันที่ 4/1/2025 เวลา 14.10
3. กรณีที่คำนวนกำลังการผลิตแล้วต่อ1 เครื่องจักร 1 อาทิตย์ = 5760 นาที (ถ้าอาทิตย์ที่มีการผลิตน้อยกว่า 2880 นาที สามารถยุบกะได้ ถ้าเกิน 5760 นาที ต้องเปิด OT)
User avatar
snasui
Site Admin
Site Admin
Posts: 30917
Joined: Sun Jan 24, 2010 12:33 pm
Location: Songkhla, Thailand
Excel Ver: 2010, 365
Contact:

Re: คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#2

Post by snasui »

:D คอ่ย ๆ ถามตอบกันไปครับ

ช่วยแนบไฟล์ตัวอย่างตามคำอธิบายในโพสต์ด้านบน พร้อมระบุว่าเซลล์ไหน ควรได้คำตอบเป็นเท่าไร คิดอย่างไรจึงได้คำตอบเท่านั้น การให้ข้อมูลแบบนี้เพื่อน ๆ จะสะดวกในการช่วยกันหาคำตอบครับ
deityz1231
Member
Member
Posts: 2
Joined: Wed Dec 25, 2024 2:49 pm
Excel Ver: 365

Re: คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#3

Post by deityz1231 »

ได้ครับอาจารย์
ที่คอลัมม์ H จะเป็นตัวกำหนดจุดเริ่มต้นในการทำงานของแต่ละเครื่องจักร(คอลัมม์ B)และแต่ละชิ้นงาน(คอลัมม์ C)
โดยเวลาเริ่มต้น(คอลัมม์ H)จะนำมาบวกกับเวลาทำงาน(คอลัมม์ F) แสดงผลลัพธ์ที่งานต้องเสร็จ(คอลัมม์ I) แต่ผลลัพธ์การทำงานจะต้องห้ามนับเวลาพักข้อมูลตาม(คอลัมม์ K-M) และห้ามนับวันหยุด(Tab วันหยุดนักขัตฤกษ์) และจะทำเช่นนี้ใหม่ในเครื่องจักรถัดไป

ถัดมาจะมีชิ้นงานบางตัวที่ต้องต่อ Process กัน (จุดสังเกตุ คือ ชื่อ dwg.(คอลัมม์ C) และ ตรง Remark(คอลัมม์ D) จะตรงกันทั้ง 2 ช่อง)
ที่ไฟล์จะเขียน 1 และ 2(คอลัมม์ A) ไว้เป็นตัวอย่าง สิ่งที่ต้องการคือต้องการให้เวลาทำงานที่เครื่องจักร 1 เสร็จ ถึงจะให้เวลาไปรันต่อที่เครื่องจักร 2 เช่น พาร์ท B มีเวลาทำงาน 60 นาที ที่เครื่องจักร 1 เริ่มทำงานวันที่ 4/1/2025 เวลา 12.40 งานจริงจะเสร็จวันที่ 4/1/2025 เวลา 13.40 และส่งไปที่เครื่องจักร 2
พาร์ท B มีเวลาทำงาน 30 นาที ที่เครื่องจักร 2 เริ่มทำงานวันที่ 4/1/2025 เวลา 13.40 งานจริงจะเสร็จวันที่ 4/1/2025 เวลา 14.10

ถัดมาหลังจากคำนวณกำลังการผลิตทั้งหมดแล้ว แสดงค่าเวลาการทำงาน กับ เวลาทำงานเต็มเป็นที่ตั้ง เพื่อที่จะสามารถสลับสูตรการผลิตเป็นต้องเปิดกะต่อ หรือ ต้องเปิดโอที หรือ สามารถยุบกะได้ เช่น คำนวนกำลังการผลิตแล้วต่อ1 เครื่องจักร 1 อาทิตย์ = 5760 นาที (ถ้าอาทิตย์ที่มีการผลิตน้อยกว่า 2880 นาที สามารถยุบกะได้ ถ้าเกิน 5760 นาที ต้องเปิด OT)
You do not have the required permissions to view the files attached to this post.
Post Reply