:D snasui.com ยินดีต้อนรับ :D
ยินดีต้อนรับสู่กระดานถามตอบ Excel and VBA และอื่น ๆ ที่เป็นมิตรกับทุกท่าน มีไฟล์แนบมหาศาล ช่วยให้ท่านค้นหาและติดตามศึกษาได้โดยง่าย :thup: สมาชิกท่านใดที่ยังไม่ได้ระบุ Version ของ Excel ที่ใช้งานจริง สามารถทำตาม Link นี้เพื่อจะได้รับคำตอบที่ตรงกับ Version ของท่านครับ :arrow: ระบุ Version ของ Excel
:!: โปรดทราบ :!:
  1. กรุณาอ่านกฎการใช้บอร์ด (Forum rules) ในตำแหน่งด้านบนของแต่ละบอร์ด
  2. การสมัครสมาชิก การ Login การกู้คืนรหัสผ่าน
    1. สมัครสมาชิกดูขั้นตอนได้ที่ :arrow: สมัครสมาชิก
    2. Login เข้าระบบโดยคลิกปุ่ม Login ตรงมุมขวาบนของหน้านี้ :roll:
    3. การ Login ผ่าน Facebook ดูวิธีที่ :arrow: Login ผ่าน Facebook
    4. ลืมรหัสผ่านสามารถรับรหัสใหม่ได้ที่ :arrow: Reset รหัสผ่าน
  3. มีปัญหาการใช้งาน แจ้งผู้ดูแลระบบได้ที่ :arrow: ติดต่อผู้ดูแลระบบ
  4. กำหนดการตั้งค่าส่วนตัว เช่นตั้งค่าภาษาเป็นไทยหรืออังกฤษดูได้ที่ :arrow: ตั้งค่าส่วนตัว
  5. การตั้งและตอบกระทู้ดูได้ที่ :arrow: วิธีการตั้งและตอบกระทู้
  6. การจัดรูปแบบตัวอักษรด้วย bbcode ในช่องแสดงความคิดเห็นดูได้ที่ :arrow: จัดรูปแบบตัวอักษร
  7. กำหนดขนาดตัวอักษรใน Browser ดูได้ที่ :arrow: กำหนดขนาดตัวอักษรใน Browser

ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

ฟอรัมถาม-ตอบปัญหาการใช้งาน MS Excel and VBA
Forum rules
  1. ไม่อนุญาตให้ใช้ภาษาแชทในการถามและตอบปัญหา ไม่ใช้คำว่า "คับ" หรือ "อ่ะครับ" แทนคำว่า "ครับ" ไม่ใช้คำว่า "เด๋ว" แทนคำว่า "เดี๋ยว" เป็นต้น เนื่องจากเมื่อแปลเป็นภาษาต่างประเทศแล้วจะให้ความหมายผิดไปจากที่ควรจะเป็น
  2. ห้ามถามโดยระบุชื่อผู้ตอบและต้องตั้งชื่อกระทู้ให้สื่อถึงปัญหาที่จะถาม ไม่ตั้งชื่อว่า ช่วยด้วยครับ, มีปัญหามาปรึกษาครับ เป็นต้น
  3. กรุณาอธิบายปัญหาและระบุคำตอบที่ต้องการมาในกระทู้ด้วยเสมอถึงแม้จะอธิบายไว้ในไฟล์แนบแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เพื่อนสมาชิกในการค้นหาข้อมูล
  4. กรุณาแนบไฟล์ตัวอย่างพร้อมแสดงคำตอบที่ถูกต้องมาในไฟล์ด้วยเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและสะดวกต่อการตอบคำถาม (ขนาดไฟล์ไม่เกิน 500Kb ขนาดภาพไม่เกิน 800*600 Pixel) ไม่แนบเป็น Link มาจากแหล่งอื่นที่อาจจะถูกลบทิ้งไปโดยต้นทางในภายหลัง นอกจากนี้ไม่ควรแนบไฟล์ที่มีข้อมูลสำคัญอันก่อให้เกิดความเสียหายกับตนเองและผู้อื่น
  5. กรณีเป็นคำถามเกี่ยวกับ Programming เช่น VBA, VB.Net, C#, SQL ฯลฯ ต้องลองเขียนมาเองก่อนเสมอ ถามเฉพาะที่ติดปัญหา ระบุ Module, Procedure ที่ติดปัญหาให้ชัดเจน กรุณาโพสต์ Code ให้แสดงเป็น Code คือเปิดด้วย [code] และปิดด้วย [/code] ตัวอย่างเช่น [code]dim r as range[/code] เพื่อให้แตกต่างจากข้อความทั่วไป สะดวกในการอ่านและทดสอบ (คลิกเพื่อดูตัวอย่าง)
  6. กรุณาแจ้งผลการใช้งานเมื่อได้รับคำตอบว่าตรงกับความต้องการหรือไม่
ruthaithip
Member
Member
Posts: 16
Joined: Mon Oct 15, 2012 1:38 pm

ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#1

Post by ruthaithip »

รบกวนสอบถามฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุดค่ะ
ทำงาน จันทร์-เสาร์ 08:00 - 17:00 น.
โดย OT วันหยุดแบ่งออกเป็นตามตารางไฟล์แนบค่ะ
รบกวนด้วยนะคะ ไม่รู่จะใช้สูตรอะไรในการคำนวณเลยค่ะ
ขอบคุณมากค่ะ :) :) :)
You do not have the required permissions to view the files attached to this post.
*_* MUAY @ MUAY *_*
User avatar
snasui
Site Admin
Site Admin
Posts: 30938
Joined: Sun Jan 24, 2010 12:33 pm
Location: Songkhla, Thailand
Excel Ver: 2010, 365
Contact:

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#2

Post by snasui »

:D ไม่รู้สูตรคำนวณไม่เป็นไรครับ แต่จำเป็นจะต้องรู้ว่าคำตอบมีค่าเท่าไร และควรที่จะเขียนตัวอย่างคำตอบที่ถูกต้องมาด้วย

การคิดค่าล่วงเวลาจะต้องระบุให้ชัดว่าแต่ละวันเข้างานเวลาใดบ้าง ออกงานเวลาใดบ้าง เข้าจริงเวลาใด ออกจริงเวลาใด ถ้ามีเป็นกะก็ต้องระบุว่ากะนั้น ๆ เข้าเวลาใด ออกเวลาใด ฯลฯ ลองดูตัวอย่างเกี่ยวกับเรื่องค่าล่วงเวลาที่นี่ครับ :arrow: ค่าล่วงเวลา
ruthaithip
Member
Member
Posts: 16
Joined: Mon Oct 15, 2012 1:38 pm

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#3

Post by ruthaithip »

ขออภัยค่ะอาจารย์สันติพงษ์
งั้นขอตั้งคำถามใหม่ในไฟล์แนบนะคะ เหมือนจะงงกับตัวเองเหมือนกันค่ะ :roll: :roll: :roll: :cry: :cry: :cry:
You do not have the required permissions to view the files attached to this post.
*_* MUAY @ MUAY *_*
User avatar
snasui
Site Admin
Site Admin
Posts: 30938
Joined: Sun Jan 24, 2010 12:33 pm
Location: Songkhla, Thailand
Excel Ver: 2010, 365
Contact:

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#4

Post by snasui »

:D ช่วยเขียนคำถามในฟอรัมนี้ด้วยเพื่อความสะดวกในการค้นหาของเพื่อน ๆ ครับ

สำหรับที่ถามมานั้น ลองตามด้านล่าง
  1. เซลล์ N5 คีย์
    =ROUND((M5-L5+(M5<L5))*48,0)/48
    Enter > Copy ลงด้านล่าง
  2. เซลล์ S10 คีย์
    =MIN(N10,"2:30"+0)
    Enter > Copy ไปยังเซลล์ที่เกี่ยวข้อง
  3. ที่เซลล์ R10 คีย์
    =MAX(0,N10-S10)
    Enter > Copy ไปยังเซลล์ที่เกี่ยวข้อง
ruthaithip
Member
Member
Posts: 16
Joined: Mon Oct 15, 2012 1:38 pm

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#5

Post by ruthaithip »

สวัสดีค่ะ :idea: :idea: :idea:
ขอบคุณมากค่ะทำได้แล้ว ว่าแต่ยังมีข้อสงสัยอยู่ค่ะ....*_*'''
ช่อง R10 กับ S10 ต้องใช้สูตรอะไรคะในการคำนวณ
เพราะช่อง R10 จะต้องคำนวณได้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง
การคำนวณจำนวนชั่วโมงจะต้องอยู่ในช่วงเวลา 08:00-17:00 เท่านั้นค่ะ

กรณีสมมุติ เข้างาน 6:15-14:20
ช่อง R10=5:30 เพราะถ้าทำงานเกินเวลา 13:01 น. จะถูกหักเวลาพักทันที 1 ชั่วโมง
ช่อง S10=2:00

และ
กรณีสมมุติ เข้างาน 5:20-21:15
ช่อง R10=8:00
ช่อง S10=6:30

ขอบพระคุณมากค่ะ :) :D :)
*_* MUAY @ MUAY *_*
User avatar
snasui
Site Admin
Site Admin
Posts: 30938
Joined: Sun Jan 24, 2010 12:33 pm
Location: Songkhla, Thailand
Excel Ver: 2010, 365
Contact:

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#6

Post by snasui »

ruthaithip wrote:และ
กรณีสมมุติ เข้างาน 5:20-21:15
ช่อง R10=8:00
ช่อง S10=6:30
:aru: มีเวลาพักหรือไม่ครับ หากมีเวลาเกินเท่าไรถึงจะถือว่ามีเวลาพักครับ
ruthaithip
Member
Member
Posts: 16
Joined: Mon Oct 15, 2012 1:38 pm

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#7

Post by ruthaithip »

เวลาพักมีเวลาเดียวค่ะ คือช่วงเวลางาน 8.00 - 17.00น. พัก 1 ชั่วโมง วันทำงานไม่มีปัญหาค่ะเพราะต้องทำเต็มเวลาค่ะ
แต่วันหยุดมี 2 กรณีค่ะ (ตั้งแต่เวลา 13:01น. เป็นต้นไปจะหักเวลาพัก 1 ชั่วโมง)
1. ตั้งแต่เวลา 8.00 - 13.00 ให้เป็นจำนวนโอทีทั้งหมดไม่หักเวลาพักเพราะถือว่าเกินเที่ยงไปแค่ชั่วโมงเดียวค่ะ
2. ตั้งแต่เวลา 8.00 - 13.01 เป็นต้นไป ให้หักเวลาพัก 1 ชั่วโมงค่ะ

ขอบคุณค่ะ :D :D :D
*_* MUAY @ MUAY *_*
User avatar
snasui
Site Admin
Site Admin
Posts: 30938
Joined: Sun Jan 24, 2010 12:33 pm
Location: Songkhla, Thailand
Excel Ver: 2010, 365
Contact:

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#8

Post by snasui »

:D ปรับ Worksheet และแนบมาใหม่โดยเพิ่มคอลัมน์ที่แสดงเฉพาะเวลาทำงานหลังหักเวลาพักแล้ว กรณีไม่ทราบว่าต้องใช้สูตรไหนก็ให้คีย์มือมาก่อน เพื่อจะใช้คำนวณหาล่วงเวลาต่อไปครับ
nattasiray
Bronze
Bronze
Posts: 284
Joined: Thu Feb 11, 2010 8:32 pm
Contact:

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#9

Post by nattasiray »

ruthaithip wrote:เวลาพักมีเวลาเดียวค่ะ คือช่วงเวลางาน 8.00 - 17.00น. พัก 1 ชั่วโมง วันทำงานไม่มีปัญหาค่ะเพราะต้องทำเต็มเวลาค่ะ
แต่วันหยุดมี 2 กรณีค่ะ (ตั้งแต่เวลา 13:01น. เป็นต้นไปจะหักเวลาพัก 1 ชั่วโมง)
1. ตั้งแต่เวลา 8.00 - 13.00 ให้เป็นจำนวนโอทีทั้งหมดไม่หักเวลาพักเพราะถือว่าเกินเที่ยงไปแค่ชั่วโมงเดียวค่ะ
2. ตั้งแต่เวลา 8.00 - 13.01 เป็นต้นไป ให้หักเวลาพัก 1 ชั่วโมงค่ะ

ขอบคุณค่ะ :D :D :D
ระยะเวลาในเงื่อนไขข้อ ๑ กับข้อ ๒ มันขัดแย้งกันนะครับ ผมอ่านแล้วยังงงอยู่ :? :? :?

น่าจะเป็น

Code: Select all

ถ้าวันทำงานเป็นวันธรรมดาแล้ว
     ระยะเวลาทำงานล่วงเวลา = (ภาคเช้าก่อน 08:00 - 08:00) + (ภาคบ่าย-18:00)
แต่ถ้าไม่ใช่
   ถ้าเวลาเลิกทำงานล่วงเวลาไม่เกิน 13:00 แล้ว 
       ระยะเวลาทำงานล่วงเวลา = เวลาสิ้นสุด-เวลาเริ่มต้น
   แต่ถ้าไม่ใช่
       ระยะเวลาทำงานล่วงเวลา = เวลาสิ้นสุด-เวลาเริ่มต้น-หักช่ั่วโมงพัก ๑ ชั่วโมง
   จบการคำนวณ
จบการคำนวณ
ผมแนะนำให้คุณเขียนแบบที่ผมเขียนครับ อ่านแล้วเข้าใจกว่าเยอะ :D :D :D :D

อ้ออีกอย่างหนึ่งครับ วันหยุดในความหมายของคุณในที่นี่ นอจากจะหมายถึงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์แล้ว ยังหมายรวมถึงวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดชดเชยด้วยใช่ไหมครับ ถ้าคำตอบคือ "ใช่" คุณต้องสร้างตารางเก็บรายการวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันหยุดชดเชยด้วยครับ เพื่อใช้คำนวณหาค่าแรงล่วงเวลา
ณัฐศิระ เยาวสุต
(N. Yauvasuta)
ruthaithip
Member
Member
Posts: 16
Joined: Mon Oct 15, 2012 1:38 pm

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#10

Post by ruthaithip »

ขอบคุณค่ะคุณณัฐศิระ ตอนนี้เริ่มเข้าลึกขึ้นและงงเพิ่มขึ้นมาก ๆ เลยค่ะ
แล้วจะลองทำวิธีที่คุณแนะนำดูนะคะ ได้ไม่ได้ยังไงจะแจ้งผลกลับนะคะ :) :) :)
*_* MUAY @ MUAY *_*
ruthaithip
Member
Member
Posts: 16
Joined: Mon Oct 15, 2012 1:38 pm

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#11

Post by ruthaithip »

เรียน อาจารย์สันติพงษ์ :) :) :)

ที่อาจารย์ให้ทำเพิ่ม หมายถึงช่องสีเหลืองตามที่แนบมานี่หรือเปล่าคะ และใช่ทำแบบนี้หรือเปล่าคะ :roll: :roll: :roll:

ขอบคุณมากค่ะ :tt: :tt: :tt:
You do not have the required permissions to view the files attached to this post.
*_* MUAY @ MUAY *_*
nattasiray
Bronze
Bronze
Posts: 284
Joined: Thu Feb 11, 2010 8:32 pm
Contact:

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#12

Post by nattasiray »

ถามว่าเกณฑ์การให้ค่าล่วงเวลาที่ระบุเป็นจำนวนเท่านี้ มีวิธีการคิดอย่างไรครับ
ณัฐศิระ เยาวสุต
(N. Yauvasuta)
ruthaithip
Member
Member
Posts: 16
Joined: Mon Oct 15, 2012 1:38 pm

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#13

Post by ruthaithip »

เรียนคุณณัฐศิระ

ที่ให้เกณฑ์เท่านี้ คิดจากการทำงานช่วงเวลา 8.00-17.00 น.เท่านั้น จะมีเวลาพัก 1 ชั่วโมง
นอกนั้นจะให้เป็นชั่วโมงโอทีทั้งหมดในระหว่างที่ปฎิบัติงานยังไม่เสร็จภาระกิจ (นอกเหนือเวลานี้จะไม่ไม่หักเวลาพัก)
ไม่ว่าจะเป็นวันทำงานปรกติหรือวันหยุดต่าง ๆ เพราะเกณฑ์นี้จะให้เฉพาะพนักงานขับรถเท่านั้น เป็นกรณีพิเศษค่ะ
ถึงได้คำณวณยาก ไม่รู้จะใช้สูตรอะไรคำนวณ เพราะดันไม่เหมือนชาวบ้านเขาเอาซะเลยค่ะบอกได้คำเดียว มึนตึ๊บ ค่ะ
*_* MUAY @ MUAY *_*
nattasiray
Bronze
Bronze
Posts: 284
Joined: Thu Feb 11, 2010 8:32 pm
Contact:

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#14

Post by nattasiray »

ขอโทษครับที่คำถามไม่ชัดเจน

อัตราจำนวนเท่าของค่าจ้างล่วงเวลาที่ผมถามถึงนั้น มีการให้อย่างไร เช่น ทำงาน ไม่เกิน ๑ ชั่วโมง ให้ ๑ เท่า ทำงานไม่เกิน ๓ ชั่วโมง ให้ ๑.๕ เท่า ถ้ามากกว่า ๓ ชั่วโมงให้ ๒ เท่า เป็นตัน ช่วยระบุด้วยครับ
ณัฐศิระ เยาวสุต
(N. Yauvasuta)
nattasiray
Bronze
Bronze
Posts: 284
Joined: Thu Feb 11, 2010 8:32 pm
Contact:

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#15

Post by nattasiray »

ขอโทษครับที่คำถามไม่ชัดเจน

อัตราจำนวนเท่าของค่าจ้างล่วงเวลาที่ผมถามถึงนั้น มีการให้อย่างไร เช่น ทำงาน ไม่เกิน ๑ ชั่วโมง ให้ ๑ เท่า ทำงานไม่เกิน ๓ ชั่วโมง ให้ ๑.๕ เท่า ถ้ามากกว่า ๓ ชั่วโมงให้ ๒ เท่า เป็นตัน ช่วยระบุด้วยครับ

สรุปกรณีก่อนนะครับ

กรณีที่ ๑ การคิดระยะเวลาทำงานล่วงเวลาในวันทำงานวันธรรมดา
  • ทำงานก่อน ๘ โมง เลิกงานหลัง ๑๗:๐๐ คิดก่อน ๘ โมง กับ คิดหลัง ๘โมงเย็น แต่ในช่วง ๘ - ๑๗ ไม่นำมาคิด เพราะถึอเป็นเวลางาน และไม่หักเวลาพัก
กรณีที่ ๒ การคิดค่าระยะเวลาทำงานล่วงเวลาในวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ
  • กรณีที่ ๒.๑ ทำงานก่อน ๘ โมง เลิกงานไม่เกิน ๑๓:๐๐ ระยะเวลาทำงานล่วงเวลาเท่ากับ เวลาสิ้นสุด - เวลาเริ่มต้น ถ้าไม่ใช่ ให้ไปใช้กรณีที่ ๒.๒
  • ๒.๒ ทำงานก่อน ๘ โมง เลิกงานหลัง ๑๓:๐๐ ระยะเวลาทำงานล่วงเวลาเท่ากับ เวลาสิ้นสุด - เวลาเริ่มต้น-เวลาพัก 1 ชั่วโมง
อย่างนี้ชัดเจนและถูกต้องไหมครับ ถ้าชัดเจนและถูกต้อง ผมจะได้สร้างการคำนวณให้ถูกต้อง

ปัญหาที่คุณงงในการคำนวณมีสาเหตุมาจากคุณไม่ได้เขียนผังการคำนวณลงในกระดาษในรูปแบบข้อความก่อนว่า มีเงื่อนไขอะไรบ้าง เงื่อนไขดังกล่าวส่งผลการทำงานอย่างไร ถ้าเขียนเสร็จตั้งแต่แรก มาสร้างการคำนวณก็เสร็จ เป็นทำงานแบบอัจฉริยะ (Work smart) ;) แต่ถ้าไม่ทำ เป็นการทำงานหนักเอาการครับ (Work hard) :shock: T_T

ดังนั้นก็สร้างการคำนวณใด ๆ ก็ตาม ให้เขียนขั้นตอนการคำนวณก่อนว่าคิดอย่างไร มีตัวแปรอะไรบ้าง มีเงื่อนไขใดบ้างที่ใช้ประกอบการคำนวณ สะดวกแก่การตรวจสอบครับ

ถ้าคำใดที่รุนแรงไปผมก็ขออภัยด้วย แต่เป็นคำติเพื่อนำไปให้คุณได้ปรับปรุงแก้ไขครับ

เพื่อความเข้าใจตรงกัน ขอความร่วมมือให้เขียนเงื่อนไขการให้อัตราค่าล่วงเวลาที่ระบุกี่เท่าเลียนแบบที่ผมทำไว้ครับ ผมจะได้แก้ไขเพิ่มเติมให้

ด้วยความปรารถนาดี
ณัฐศิระ เยาวสุต
(N. Yauvasuta)
ruthaithip
Member
Member
Posts: 16
Joined: Mon Oct 15, 2012 1:38 pm

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#16

Post by ruthaithip »

ขอโทษครับที่คำถามไม่ชัดเจน
อัตราจำนวนเท่าของค่าจ้างล่วงเวลาที่ผมถามถึงนั้น มีการให้อย่างไร เช่น ทำงาน ไม่เกิน ๑ ชั่วโมง ให้ ๑ เท่า ทำงานไม่เกิน ๓ ชั่วโมง ให้ ๑.๕ เท่า ถ้ามากกว่า ๓ ชั่วโมงให้ ๒ เท่า เป็นตัน ช่วยระบุด้วยครับ

อัตราจำนวนเท่าของค่าจ้างล่วงเวลาที่คุณถามถึงนั้น หมายถึงประมาณนี้หรือเปล่าคะ :?: :?: :?:
วันธรรมดา : จะให้ 1.5 เท่า เท่านั้น ไม่จำกัดจำนวนชั่วโมง โดย (ถ้าทำงานเกิน 20 นาที คิดเป็น 30 นาที)/(ถ้าทำงานเกิน 50 นาที คิดเป็น 1 ชั่วโมง)
วันหยุดต่าง ๆ : จะมี 2 เกณฑ์ คือ
ช่วงเวลา 8.00-17.00 จะเป็น 1 เท่า แต่ถ้าทำเกินเวลา 13.01 น. เป็นต้นไปจนถึง 5 โมงเย็น จะต้องถูกหักเวลาพักด้วย 1 ชั่วโมง
นอกเวลา 8.00-17.00 จะเป็น 3 เท่าทั้งหมดและไม่หักเวลาพักค่ะ


สรุปกรณีก่อนนะครับ
กรณีที่ ๑ การคิดระยะเวลาทำงานล่วงเวลาในวันทำงานวันธรรมดา
  • ทำงานก่อน ๘ โมง เลิกงานหลัง ๑๗:๐๐ คิดก่อน ๘ โมง กับ คิดหลัง ๘โมงเย็น แต่ในช่วง ๘ - ๑๗ ไม่นำมาคิด เพราะถึอเป็นเวลางาน และไม่หักเวลาพัก

กรณีที่ ๒ การคิดค่าระยะเวลาทำงานล่วงเวลาในวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ
  • กรณีที่ ๒.๑ ทำงานก่อน ๘ โมง เลิกงานไม่เกิน ๑๓:๐๐ ระยะเวลาทำงานล่วงเวลาเท่ากับ เวลาสิ้นสุด - เวลาเริ่มต้น ถ้าไม่ใช่ ให้ไปใช้กรณีที่ ๒.๒
  • ๒.๒ ทำงานก่อน ๘ โมง เลิกงานหลัง ๑๓:๐๐ ระยะเวลาทำงานล่วงเวลาเท่ากับ เวลาสิ้นสุด - เวลาเริ่มต้น-เวลาพัก 1 ชั่วโมง

อย่างนี้ชัดเจนและถูกต้องไหมครับ ถ้าชัดเจนและถูกต้อง ผมจะได้สร้างการคำนวณให้ถูกต้อง

กรณีที่ 1 ใช่ค่ะ
กรณีที่ 2.1 และ 2.2 ใช่ค่ะ แต่อย่างที่แจ้งข้างต้นจะเป็นโอที 1 เท่า และ 3 เท่า เท่านั้นค่ะ (ข้อความสีชมพูด้านบนค่ะ)
ไม่แน่ใชว่าตอบตรงคำถามที่ต้องการข้อมูลหรือเปล่าคะ :?: :?: :?:

ถ้าคำใดที่รุนแรงไปผมก็ขออภัยด้วย แต่เป็นคำติเพื่อนำไปให้คุณได้ปรับปรุงแก้ไขครับ
ไม่ว่ากันค่ะ :cry: :cry: :cry: ดีค่ะโดนซะบ้างจะได้เก่งขึ้น :lol: :lol: :lol:
ขอบคุณมากนะคะที่แนะแนวและให้ความช่วยเหลือค่ะเพราะไม่เคยเจอเคสแบบนี้เพิ่งมาจับงานนี้บริษัทในเครือเขาใช้โปรแกรมสำเร็จรูปแต่ปิดกิจการไปแล้วเขาก็คำนวณไม่ได้
ต้องมานั่งคำนวณบวกลบนับมือเอาผิดถูกขาดหายบ่อยค่ะ ก็เลยอยากจะหัดทำสูตรวิธีคิดคำนวณให้ถูกต้องค่ะ :roll: :roll: :roll:
OT.xls
You do not have the required permissions to view the files attached to this post.
*_* MUAY @ MUAY *_*
nattasiray
Bronze
Bronze
Posts: 284
Joined: Thu Feb 11, 2010 8:32 pm
Contact:

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#17

Post by nattasiray »

ผมขอสรุปสิ่งที่ต้องแก้ไขเกี่ยวกับตารางคำนวณของคุณก่อนครับ
  • ต้องสร้างตารางเก็บวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อใช้ตรวจสอบวันเดือนปีที่ทำงานนั้นเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์หรือไม่เพราะวันหยุดนักขัตฤกษ์เป็นเงื่อนไขใช้ในการคำนวณหาค่าจ้างล่วงเวลา
  • เนื่องจากงานของคุณมีลักษณะเป็นฐานข้อมูล ดังนั้นคุณต้องเปลี่ยนตารางบันทึกข้อมูลจากตารางออกรายงานให้เป็นตารางฐานข้อมูลครับ และเพิ่มคอลัมน์จำนวนเท่าของ OT คอลัมน์จำนวนเงินไว้ด้วย
  • การบันทึกข้อมูลวันเดือนปีที่ทำงาน ให้คุณบันทึกวันเดือนปีด้วยปีคริสตศักราช ต่อจากนั้นจัดรูปแบบการแสดงผลตัวเลข (Format Number) ด้วยรหัส ววว d ดดด bbbb เพื่อแสดงวันเดือนปี พร้อมชื่อวัน
  • ใช้คำสั่ง Conditional Formatting ทำแถบสีให้กับเซลล์ที่เป็นวันเสาร์วันอาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์เพื่อตรวจสอบการคำนวณ
  • ใช้คำสั่ง Conditional Formatting ซ่อนข้อความหากผู้ใช้ลืมกรอกเวลาเริ่มต้นทำงานหรือเวลาสิ้นสุดทำงาน
  • ใช้ Data Validation ตรวจสอบการกรอกวันเดือนปีของผู้ใช้ว่าเผลอกรอกวันเดือนปีโดยใช้ปีพุทธศักราชหรือไม่
ในการคำนวณหาระยะเวลาและจำนวนเท่าของ OT ต้องใช้สูตรต่อไปนี้
  • ISBLANK เพื่อตรวจสอบว่าลืมป้อนข้อมูลจุดใดจุดหนึ่งหรือไม่ ถ้าลืมไม่แสดง
  • MATCH ใช้ตรวจสอบว่าวันเดือนปีที่มาทำงานนั้นเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์จากตาราง Holiday หรือไม่ ถ้าใช่ จะบอกค่าตำแหน่งมา ถ้าไม่ใช่จะส่งค่า #N/A! เพื่อแจ้งว่าไม่พบค่าดังกล่าว ดังนั้นใช้สูตร ISNA ตรวจสอบซ้ำอีกครั้งหนึี่ง ซึ่งถ้าค่าที่ส่งออกจาก MATCH มาเป็น #N/A! ISNA จะแจ้งค่าเป็น TRUE เพื่อยืนยันว่าไม่พบจริง ๆ
  • WEEKDAY ใช้ตรวจสอบว่าวันเดือนปีที่มาทำงานนั้นเป็นวันเสาร์หรือวันอาทิตย์หรือไม่ ถ้าเป็นวันเสาร์ WEEKDAY จะให้ค่าเลข 7 ส่วนวันอาทิตย์ให้ค่าเลข 1
  • MIN ใช้ตรวจสอบว่าเวลาเริ่มต้นทำงานในวันธรรมดานั้นอยู่ก่อนเวลา 08:00 หรือไม่ ถ้าใช่ ให้เอาเวลานั้นมาคิด OT ครับ
จำนวนเท่าของ OT ไม่ต้องหักชั่วโมงพักเพราะดูจากชื่อวัน และเวลาที่เริ่มทำงาน
  • เมื่อสร้างตารางบันทึกข้อมูลเสร็จแล้วต้องสร้างตารางคำนวณสรุปผลต่างหาก โดยใช้ฟังก์ชัน SUMIF หาผลรวมอย่างมีเงื่อนไข
  • สุดท้าย ต้องป้องกันเซลล์ที่มีสูตรอนุญาตให้เซลล์ที่เป็นตัวแปร ซึ่งได้แก่ เซลล์เวลาเริ่มทำงาน เซลล์เวลาเลิกงาน เซลล์กรอกข้อมูลวันหยุดประจำแห่งปี
ศึกษาเรื่องการใช้ Conditional Formatting กับ Data Validation จาก Youtube ครับ ใช้คำที่ผมแนะนำให้ไปสืบค้น

ลองหาหนังสือจัดการฐานข้อมูลด้วยไมโครซอฟต์เอ็กเซล ๒๐๑๐ มาอ่านด้วยครับ มีเนื้อหาสอนการใช้ไมโครซอฟต์เอ็กเซลเลียนแบบฐานข้อมูล และมีคำอธิบายของการคำนวณหา OT สูตรที่เกี่ยวข้อง ครับ

เห็นสูตรแล้วอย่าเพิ่งตกใจนะครับว่าทำไมยาวยืดเยื้อ และอย่าเพิ่งท้อใจครับ

ทำใจครับ ระบบการศึกษาไทย สอนแบบพื้นมาก ๆ ไม่ได้เจาะประเด็น ทำให้ผู้ใช้ใช้วิธีสามัญแก้ปัญหา ส่งผลให้ทำงานเสร็จช้า

สำหรับการ Format Number ให้มีข้อความ รวมด้วย กระทำโดย
คลิกขวาที่เซลล์เลือก Format Cells...
คลิกแท็บ Number
คลิก Custom ที่อยู่ในกรอบ Category
ที่ช่อง Type พิมพ์ รหัส พร้อมข้อความภายใต้เครื่องหมายอัญประกาศ เช่น h" ชั่วโมง "mm" นาที "
คลิก OK

ดูจากแฟ้มแนบ
You do not have the required permissions to view the files attached to this post.
ณัฐศิระ เยาวสุต
(N. Yauvasuta)
nattasiray
Bronze
Bronze
Posts: 284
Joined: Thu Feb 11, 2010 8:32 pm
Contact:

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#18

Post by nattasiray »

เพิ่งมาเห็นว่า

ถ้าทำงานเกิน 50 นาที ปัดเป็น 1 ชั่วโมง
ถ้าทำงานเกิน 20 นาที ปัดเป็น 30 นาที
ถ้าทำงานน้อยกว่า 20 นาที ปัดทิ้ง

แล้วกรณีที่อยู่ในช่วง 30 - 49 ปัดเป็นค่าอะไรครับ รวมถึง เท่ากับ 20 นาที เท่ากับ 50 นาที ด้วยครับว่าจะปัดเป็นอย่างไร

เขียนเงื่อนไขต้องเขียนให้ครบถ้วนครับ มิฉะนั้นจะได้ผลลัพธ์การคำนวณที่ไม่ถูกต้อง
ณัฐศิระ เยาวสุต
(N. Yauvasuta)
ruthaithip
Member
Member
Posts: 16
Joined: Mon Oct 15, 2012 1:38 pm

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#19

Post by ruthaithip »

เรียนอาจารย์สันติพงษ์

เอ... :shock: ทำไมพักนี้อาจารย์เงียบไปเลยคะ เป็นอะไรไปหรือเปล่าคะ ;) :roll:
*_* MUAY @ MUAY *_*
User avatar
snasui
Site Admin
Site Admin
Posts: 30938
Joined: Sun Jan 24, 2010 12:33 pm
Location: Songkhla, Thailand
Excel Ver: 2010, 365
Contact:

Re: ฟังก์ชั่นในการคำนวณโอทีวันหยุด

#20

Post by snasui »

:D ผมกลับบ้านที่ใต้มาครับ ชื่อผมที่ถูกต้อง คือ สันติพงศ์ ครับ กรณีต้องการสนทนาปราศรัยให้ไปที่หมวด Talk ครับ :mrgreen:
Post Reply