:D snasui.com ยินดีต้อนรับ :D
ยินดีต้อนรับสู่กระดานถามตอบ Excel and VBA และอื่น ๆ ที่เป็นมิตรกับทุกท่าน มีไฟล์แนบมหาศาล ช่วยให้ท่านค้นหาและติดตามศึกษาได้โดยง่าย :thup: สมาชิกท่านใดที่ยังไม่ได้ระบุ Version ของ Excel ที่ใช้งานจริง สามารถทำตาม Link นี้เพื่อจะได้รับคำตอบที่ตรงกับ Version ของท่านครับ :arrow: ระบุ Version ของ Excel
:!: โปรดทราบ :!:
  1. กรุณาอ่านกฎการใช้บอร์ด (Forum rules) ในตำแหน่งด้านบนของแต่ละบอร์ด
  2. การสมัครสมาชิก การ Login การกู้คืนรหัสผ่าน
    1. สมัครสมาชิกดูขั้นตอนได้ที่ :arrow: สมัครสมาชิก
    2. Login เข้าระบบโดยคลิกปุ่ม Login ตรงมุมขวาบนของหน้านี้ :roll:
    3. การ Login ผ่าน Facebook ดูวิธีที่ :arrow: Login ผ่าน Facebook
    4. ลืมรหัสผ่านสามารถรับรหัสใหม่ได้ที่ :arrow: Reset รหัสผ่าน
  3. มีปัญหาการใช้งาน แจ้งผู้ดูแลระบบได้ที่ :arrow: ติดต่อผู้ดูแลระบบ
  4. กำหนดการตั้งค่าส่วนตัว เช่นตั้งค่าภาษาเป็นไทยหรืออังกฤษดูได้ที่ :arrow: ตั้งค่าส่วนตัว
  5. การตั้งและตอบกระทู้ดูได้ที่ :arrow: วิธีการตั้งและตอบกระทู้
  6. การจัดรูปแบบตัวอักษรด้วย bbcode ในช่องแสดงความคิดเห็นดูได้ที่ :arrow: จัดรูปแบบตัวอักษร
  7. กำหนดขนาดตัวอักษรใน Browser ดูได้ที่ :arrow: กำหนดขนาดตัวอักษรใน Browser

คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

ฟอรัมถาม-ตอบปัญหาการใช้งาน MS Excel and VBA
Forum rules
  1. ไม่อนุญาตให้ใช้ภาษาแชทในการถามและตอบปัญหา ไม่ใช้คำว่า "คับ" หรือ "อ่ะครับ" แทนคำว่า "ครับ" ไม่ใช้คำว่า "เด๋ว" แทนคำว่า "เดี๋ยว" เป็นต้น เนื่องจากเมื่อแปลเป็นภาษาต่างประเทศแล้วจะให้ความหมายผิดไปจากที่ควรจะเป็น
  2. ห้ามถามโดยระบุชื่อผู้ตอบและต้องตั้งชื่อกระทู้ให้สื่อถึงปัญหาที่จะถาม ไม่ตั้งชื่อว่า ช่วยด้วยครับ, มีปัญหามาปรึกษาครับ เป็นต้น
  3. กรุณาอธิบายปัญหาและระบุคำตอบที่ต้องการมาในกระทู้ด้วยเสมอถึงแม้จะอธิบายไว้ในไฟล์แนบแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่เพื่อนสมาชิกในการค้นหาข้อมูล
  4. กรุณาแนบไฟล์ตัวอย่างพร้อมแสดงคำตอบที่ถูกต้องมาในไฟล์ด้วยเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและสะดวกต่อการตอบคำถาม (ขนาดไฟล์ไม่เกิน 500Kb ขนาดภาพไม่เกิน 800*600 Pixel) ไม่แนบเป็น Link มาจากแหล่งอื่นที่อาจจะถูกลบทิ้งไปโดยต้นทางในภายหลัง นอกจากนี้ไม่ควรแนบไฟล์ที่มีข้อมูลสำคัญอันก่อให้เกิดความเสียหายกับตนเองและผู้อื่น
  5. กรณีเป็นคำถามเกี่ยวกับ Programming เช่น VBA, VB.Net, C#, SQL ฯลฯ ต้องลองเขียนมาเองก่อนเสมอ ถามเฉพาะที่ติดปัญหา ระบุ Module, Procedure ที่ติดปัญหาให้ชัดเจน กรุณาโพสต์ Code ให้แสดงเป็น Code คือเปิดด้วย [code] และปิดด้วย [/code] ตัวอย่างเช่น [code]dim r as range[/code] เพื่อให้แตกต่างจากข้อความทั่วไป สะดวกในการอ่านและทดสอบ (คลิกเพื่อดูตัวอย่าง)
  6. กรุณาแจ้งผลการใช้งานเมื่อได้รับคำตอบว่าตรงกับความต้องการหรือไม่
deityz1231
Member
Member
Posts: 5
Joined: Wed Dec 25, 2024 2:49 pm
Excel Ver: 365

คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#1

Post by deityz1231 »

สวัสดีครับอาจารย์ ขอความช่วยเหลือตามหัวข้อกระทู้ดังนี้ครับ

เวลาทำงานของบริษัทแห่งหนึ่ง กะเช้าเริ่มงานเวลา 8:00 น. ถึงเวลา 17:00 น.
กะดึกเริ่มงานเวลา 20:00 น. ถึงเวลา 05:00 น. โดยกะเช้าและกะดึก จะมีวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์
ถ้างานไม่ทันหรือเกินกำลังการผลิต ถึงจะเปิด OT (แต่เวลาจะทับซ้อนกันเล็กน้อย)

ซึ่งโจทย์ก็คือต้องการนับเวลาที่ใช้ไปโดยนับจากจุดเริ่มต้น มีเงื่อนไขการนับเวลาดังนี้
1. ไม่นับเวลาพักและวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์
2. ชิ้นงานบางตัว จะมีการต่อ Process เช่น ทำงานที่เครื่องจักร 1 เสร็จ ถึงจะให้เวลาไปรันต่อที่เครื่องจักร 2 (จุดสังเกตุ คือ ชื่อ dwg. และ ตรง Remark จะตรงกันทั้ง 2 ช่อง)
3. สามารถสลับการคำนวนการปิดกะได้ เช่นกำลังการผลิตน้อย จากเปิดกะเช้าและดึก ให้เหลือเปิดแค่กะเช้า กรณีเกินกำลังการผลิตให้เปิด OT
4. ถ้างานไม่ทันหรือเกินกำลังการผลิต ถึงจะให้เปิด OT (แต่เวลาจะทับซ้อนกันเล็กน้อย)

ตัวอย่าง
1. พาร์ท A มีเวลาทำงาน 80 นาที ที่เครื่องจักร 1 เริ่มทำงานวันที่ 4/1/2025 เวลา 04.00 งานจริงจะเสร็จวันที่ 6/1/2025 เวลา 08.20
2. พาร์ท B มีเวลาทำงาน 60 นาที ที่เครื่องจักร 1 เริ่มทำงานวันที่ 4/1/2025 เวลา 12.40 งานจริงจะเสร็จวันที่ 4/1/2025 เวลา 13.40 และส่งไปที่เครื่องจักร 2 (หัวข้อ 2.1)
2.1 พาร์ท B มีเวลาทำงาน 30 นาที ที่เครื่องจักร 2 เริ่มทำงานวันที่ 4/1/2025 เวลา 13.40 งานจริงจะเสร็จวันที่ 4/1/2025 เวลา 14.10
3. กรณีที่คำนวนกำลังการผลิตแล้วต่อ1 เครื่องจักร 1 อาทิตย์ = 5760 นาที (ถ้าอาทิตย์ที่มีการผลิตน้อยกว่า 2880 นาที สามารถยุบกะได้ ถ้าเกิน 5760 นาที ต้องเปิด OT)
User avatar
snasui
Site Admin
Site Admin
Posts: 30938
Joined: Sun Jan 24, 2010 12:33 pm
Location: Songkhla, Thailand
Excel Ver: 2010, 365
Contact:

Re: คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#2

Post by snasui »

:D คอ่ย ๆ ถามตอบกันไปครับ

ช่วยแนบไฟล์ตัวอย่างตามคำอธิบายในโพสต์ด้านบน พร้อมระบุว่าเซลล์ไหน ควรได้คำตอบเป็นเท่าไร คิดอย่างไรจึงได้คำตอบเท่านั้น การให้ข้อมูลแบบนี้เพื่อน ๆ จะสะดวกในการช่วยกันหาคำตอบครับ
deityz1231
Member
Member
Posts: 5
Joined: Wed Dec 25, 2024 2:49 pm
Excel Ver: 365

Re: คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#3

Post by deityz1231 »

ได้ครับอาจารย์
ที่คอลัมม์ H จะเป็นตัวกำหนดจุดเริ่มต้นในการทำงานของแต่ละเครื่องจักร(คอลัมม์ B)และแต่ละชิ้นงาน(คอลัมม์ C)
โดยเวลาเริ่มต้น(คอลัมม์ H)จะนำมาบวกกับเวลาทำงาน(คอลัมม์ F) แสดงผลลัพธ์ที่งานต้องเสร็จ(คอลัมม์ I) แต่ผลลัพธ์การทำงานจะต้องห้ามนับเวลาพักข้อมูลตาม(คอลัมม์ K-M) และห้ามนับวันหยุด(Tab วันหยุดนักขัตฤกษ์) และจะทำเช่นนี้ใหม่ในเครื่องจักรถัดไป

ถัดมาจะมีชิ้นงานบางตัวที่ต้องต่อ Process กัน (จุดสังเกตุ คือ ชื่อ dwg.(คอลัมม์ C) และ ตรง Remark(คอลัมม์ D) จะตรงกันทั้ง 2 ช่อง)
ที่ไฟล์จะเขียน 1 และ 2(คอลัมม์ A) ไว้เป็นตัวอย่าง สิ่งที่ต้องการคือต้องการให้เวลาทำงานที่เครื่องจักร 1 เสร็จ ถึงจะให้เวลาไปรันต่อที่เครื่องจักร 2 เช่น พาร์ท B มีเวลาทำงาน 60 นาที ที่เครื่องจักร 1 เริ่มทำงานวันที่ 4/1/2025 เวลา 12.40 งานจริงจะเสร็จวันที่ 4/1/2025 เวลา 13.40 และส่งไปที่เครื่องจักร 2
พาร์ท B มีเวลาทำงาน 30 นาที ที่เครื่องจักร 2 เริ่มทำงานวันที่ 4/1/2025 เวลา 13.40 งานจริงจะเสร็จวันที่ 4/1/2025 เวลา 14.10

ถัดมาหลังจากคำนวณกำลังการผลิตทั้งหมดแล้ว แสดงค่าเวลาการทำงาน กับ เวลาทำงานเต็มเป็นที่ตั้ง เพื่อที่จะสามารถสลับสูตรการผลิตเป็นต้องเปิดกะต่อ หรือ ต้องเปิดโอที หรือ สามารถยุบกะได้ เช่น คำนวนกำลังการผลิตแล้วต่อ1 เครื่องจักร 1 อาทิตย์ = 5760 นาที (ถ้าอาทิตย์ที่มีการผลิตน้อยกว่า 2880 นาที สามารถยุบกะได้ ถ้าเกิน 5760 นาที ต้องเปิด OT)
You do not have the required permissions to view the files attached to this post.
User avatar
snasui
Site Admin
Site Admin
Posts: 30938
Joined: Sun Jan 24, 2010 12:33 pm
Location: Songkhla, Thailand
Excel Ver: 2010, 365
Contact:

Re: คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#4

Post by snasui »

:D ตอนนี้ผมได้แยกวันที่และเวลาออกจากกันเพื่อจะได้ง่ายต่อการใช้งาน

จากไฟล์แนบช่วยตรวจสอบว่าคอลัมน์ N, O และ P ให้ค่าที่ถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ ช่วยตรวจสอบว่าเงื่อนไขที่ให้มาสอดคล้องกันแล้วยัง

กะเช้า เริ่มเวลาไหน ถึงเวลาไหน โอทีของกะเช้าก็ต้องอยู่ในช่วงเวลานั้นด้วย
กะดึก เริ่มเวลาไหน ถึงเวลาไหน โอทีของกะดึกก็ต้องอยู่ในช่วงเวลานั้นด้วย
You do not have the required permissions to view the files attached to this post.
deityz1231
Member
Member
Posts: 5
Joined: Wed Dec 25, 2024 2:49 pm
Excel Ver: 365

Re: คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#5

Post by deityz1231 »

ระยะเวลาทำงานปกติ ระยะเวลาทำ OT และระยะเวลาพักจะอยู่ที่คอลัมม์(R:U)ครับอาจารย์
-กะเช้าจะมีเวลา ทำงานปกติที่ 08.00-17.00 และมีช่วงเวลา OT เป็น 17.30-20.30
โดยมีเวลาพัก 3 ช่วงเวลาคือ 10.00-10.10 , 12.00-12.40 , 15.00-15.10 (ถ้าไม่มี OT ช่วงเวลา 17.00-20.00 จะไม่ได้ทำงาน)
-กะดึกจะมีเวลา ทำงานปกติที่ 20.00-05.00 และมีช่วงเวลา OT เป็น 05.30-08.30
โดยมีเวลาพัก 3 ช่วงเวลาคือ 22.00-22.10 , 00.00-00.40 , 03.00-03.10 (ถ้าไม่มี OT ช่วงเวลา 05.00-05.30 จะไม่ได้ทำงาน)
-จะสังเกตุได้ว่า ถ้ามี OT เวลาจะทับซ้อนกัน 30 นาที กล่าวคือ
กะเช้าเวลาจะทับซ้อนกับกะดึกช่วงเวลา 20.00-20.30 เนื่องจากกะเช้าจะทำ OT ถึง 20.30 แต่กะดึกเริ่มทำงาน 20.00
และกะดึกเวลาจะทับซ้อนกับกะเช้าช่วงเวลา 08.00-08.30 เนื่องจากกะดึกจะทำ OT ถึง 08.30 แต่กะเช้าเริ่มทำงาน 08.00
เท่าที่ดูคร่าวๆ เซลล์(N17) ยังแสดงผลผิดอยู่ครับ ช่วงเวลาดังกล่าวควรเป็นของกะดึก

ในส่วนของระยะเวลาทำงาน คอลัมม์(H:M) ช่วงเวลาเริ่มกับเวลาจบยังไม่ได้ถูกหักลบกับเวลาพัก
คอลัมม์(H) จะสอดคล้องกับ คอลัมม์(B) โดย ถ้าเครื่องจักรที่ 1 เริ่มทำงานวันที่ 6/1 เครื่องจักรอื่นๆก็ต้องเริ่มวันที่ 6/1 เช่นกันครับ แต่ถ้ามีพาร์ทที่ชื่อDWG.และREMARKเดียวกันเป๊ะๆ เวลาทำงานจะต้องรันต่อกัน[เหมือนตัวอย่างที่เขียนให้ใน #3 โพสต์ของกระทู้นี้]
และในส่วนสูตรของอาจารย์ยังไม่ได้มีการหักวันหยุด(Tab วันหยุดนักขัตฤกษ์)

คร่าวๆประมาณนี้ครับ
User avatar
snasui
Site Admin
Site Admin
Posts: 30938
Joined: Sun Jan 24, 2010 12:33 pm
Location: Songkhla, Thailand
Excel Ver: 2010, 365
Contact:

Re: คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#6

Post by snasui »

:D กรุณาตรวจสอบและตอบกลับมาในไฟล์ ผมอธิบายไปแล้วว่าต้องตรวจสอบส่วนไหน ค่อย ๆ ถามตอบกันไปทีละขั้นตอนครับ
deityz1231
Member
Member
Posts: 5
Joined: Wed Dec 25, 2024 2:49 pm
Excel Ver: 365

Re: คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#7

Post by deityz1231 »

แก้ไขได้ประมาณนี้ครับ อาจารย์
You do not have the required permissions to view the files attached to this post.
User avatar
snasui
Site Admin
Site Admin
Posts: 30938
Joined: Sun Jan 24, 2010 12:33 pm
Location: Songkhla, Thailand
Excel Ver: 2010, 365
Contact:

Re: คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#8

Post by snasui »

:D จากไฟล์ที่แนบมาด้านล่าง ให้ตรวจสอบว่าวันหยุดกับเวลาพักถูกต้องหรือไม่

กรณีไม่ถูกต้องให้ระบุค่าที่ถูกต้องพร้อมคำอธิบายว่าคิดอย่างไรจึงได้ค่าเท่านั้นมาด้วยไม่จำเป็นต้องแก้ไขสูตรมาเองครับ

Note: ผมเปลี่ยนค่า TRUE, FALSE ของสูตรก่อนหน้าเป็น 1 และ 0 เพื่อง่ายต่อการใช้งาน
You do not have the required permissions to view the files attached to this post.
deityz1231
Member
Member
Posts: 5
Joined: Wed Dec 25, 2024 2:49 pm
Excel Ver: 365

Re: คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#9

Post by deityz1231 »

ประมาณนี้ครับ อาจารย์
ผมมีปรับแก้คอลัมม์ H:M
ให้คอลัมม์ H:I , K:L เป็นใช้สูตรแทน และแก้ไขคอลัมม์ H:M ในส่วนของการขึ้นเครื่องจักรใหม่

ส่วน คอลัมม์ Q (หยุด/นักขัตฤกษ์) ของอาจารย์ผมลองเทสแล้ว วันหยุดขึ้นค่าถูกแล้วครับ

แต่ในส่วนของคอลัมม์ R (เวลาพัก) ผมปรับแก้ค่าที่ถูก โดยไม่ใส่สูตร และเพิ่มคำอธิบายในคอลัมม์ S:T ไว้ให้ครับ
You do not have the required permissions to view the files attached to this post.
User avatar
snasui
Site Admin
Site Admin
Posts: 30938
Joined: Sun Jan 24, 2010 12:33 pm
Location: Songkhla, Thailand
Excel Ver: 2010, 365
Contact:

Re: คำนวณเวลาการผลิต โดยไม่นับเวลาพักวันหยุดวันอาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์

#10

Post by snasui »

:D จากคำตอบที่ตรวจสอบมา การที่บอกว่า "ทำงานแต่จบเวลาพัก" จะเกิดความซับซ้อนในการเขียนสูตร

ลองทำเวลาพักให้เป็นช่วงแทนที่จะเขียนมาเป็นค่าเดี่ยว ๆ เช่น

เริ่ม 10:00 สิ้นสุด 10:10

ในการตรวจสอบว่าเวลาทำงานจะติดอยู่ในช่วงเวลาพักหรือไม่ เรามักจะใช้สูตรตรวจสอบว่าเวลานั้น ๆ เกิดก่อนหรือตรงกับเวลาเริ่มของเวลาพัก และจบหลังหรือตรงกับเวลาสิ้นสุดเวลาพักหรือไม่

ยกตัวอย่างเช่นตามข้อมูลด้านบน

หากทำงาน 9:50 เลิก 10:15 จะเป็นการทำงานและมีเวลาพักประกอบอยู่ด้วย คำตอบในช่องพักจะเป็น 1 ถือว่ามีการพัก

ในตารางเวลาพักไม่จำเป็นต้องมีเวลาทำงาน เพียงแค่ระบุว่า เริ่มพักเวลาใดบ้าง สิ้นสุดการพักเวลาใดบ้างก็น่าจะเพียงพอครับ

ลองปรับตารางพักมาใหม่ดูครับ
Post Reply